About

ปาล์มหลังขาว - เขาพระแทว




        ในเขตพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเกาะที่ถูกล้อมรอบด้วยทะเล เรื่องของแหล่งน้ำจืดถือว่า เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการอยู่อาศัย โดยเฉพาะเกาะที่มีความเจริญมากอย่างเกาะภูเก็ตที่มีทั้งโรงแรมจำนวนมาก ผู้คน และนักท่องเที่ยวที่พากันหลั่งไหลมาไม่ขาดสายแต่ใครจะรู้ว่าบนเกาะแห่งนี้มีพื้นที่สีเขียวที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญ และยังมีปาล์มหลังขาวพันธุ์พืชที่พบได้ที่นี่แห่งเดียวในโลกอีกด้วย นั่นก็คือเขาพระแทวผืนป่าสีเขียวที่ถูกลืมจากนักท่องเที่ยว

        สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว
        เขาพระแทวตั้งอยู่ในพื้นที่เขตร้อน มีพืชขึ้นหนาแน่น ซึ่งจะพบอยู่ทางใต้ของประเทศไทย อย่างไรก็ตามพืชส่วนใหญ่ได้ถูกจำกัดขอบเขต ถ้าไม่ถูกการทำลายหรือรบกวนจากมนุษย์เสียก่อน บางพื้นที่ถูกแทนที่ด้วยพืชเขตร้อนในหลายทวีป มีดินที่เป็นลักษณะสีน้ำตาลเหลือง หรือ เกิดจากการย่อยสลายของหินแกรนิต เป็นบริเวณที่มีการกระจายน้ำฝนอย่างพอเพียง เราสามารถมองเห็นความสมดุลระหว่างการสลัดใบในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงพร้อมกัน แนวโน้มสำหรับสภาพอากาศที่ชื้น จะไม่พบในเขตอากาศร้อนแบบนี้มากนัก เพราะเป็นเขตที่มีฤดูแล้งยาวนาน  ที่โดดเด่นที่สุดของเขาพระแทวคือ ต้นปาล์ม ซึ่งเป็นปาล์มสกุลใหม่ของโลก (new genus) และได้ตั้งชื่อว่า Kerriodoxa นับเป็นปาล์มที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติดั้งเดิมเพียงที่เขาพระแทวแห่งเดียวในเมืองไทย และเป็นแห่งเดียวในโลกที่ยังคงแพร่พันธุ์อยู่ตามธรรมชาติ
        ส่วนสำคัญของเขาพระแทว จะเป็นป่าดงดิบชื้น ที่มีต้นไม้เขียวชอุ่มและความหลากหลายของพืชและสัตว์ป่ามากมาย พืชที่เกิดขึ้นมากที่สุดในเขาพระแทว เช่น ยางนา ไม้ตะเคียนทอง หลุมพอ และไม้พุ่มเล็กอื่นๆ ที่ยังอยู่ในระดับล่างของป่าดิบชื้นแห่งนี้ ได้แก่ ปาล์ม หวาย ไผ่ กล้วยไม้ เฟิร์นและมอส ซึ่งบางทีพบตามลำต้นไม้ต่างๆ ป่าแห่งนี้ ยังเป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำหลายสายในพื้นที่ เป็นศูนย์กลางของระบบนิเวศน์ที่หลากหลายชนิดมากที่สุดในโลก ดังนั้นบางครั้ง ก็มีการสูญเสียจากการทำลายป่าดิบชื้นแห่งนี้ที่กำลังเติบโตเช่นเดียวกัน เพียงแต่มนุษย์ต้องเปิดใจให้กว้างมองเห็นคุณค่าและความงามของผืนป่าแห่งนี้ ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะได้ดำรงอยู่ต่อไปตามความสมดุลของธรรมชาติ



        ในช่วงระหว่างการเดินทางตามป่าเขาพระแทว คุณจะพบเห็นนกหลายชนิดตามต้นไม้หรือบนพื้นดิน บริเวณนี้จะพบนกอยู่สองประเภทคือ นกท้องถิ่นและนกอพยพ คนทั่วไปจะพบรังเพื่อวางไข่ของนกตลอดทุกปี ประเภทของนกเหล่านี้ จะรวมไปถึง นกที่มาจากเอเชีย อย่างเช่น นกเขียวก้านตองใหญ่ นกบั้งรอกปากแดง นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เหยี่ยวแดง เป็นต้น ส่วนนกอพยพ อย่างเช่น นกเด้าลม นกแต้วแล้ว นกเขนน้อยไซบีเรีย นกกลุ่มนี้จะไม่สร้างรังบริเวณนี้ และจะพบเจอได้ระหว่างช่วงเดือนตุลาคม - มีนาคม การสังเกตและส่องนกในธรรมชาติ จะเป็นที่นิยมสำหรับนักดูนกเป็นอย่างมาก แต่นกยังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกระจายเมล็ดพันธุ์พืชที่จะเพิ่มความหลากหลายให้กับระบบนิเวศน์ ต้นไม้เลื้อยจะพบเห็นได้ตามป่าดงดิบ ยิ่งไม้เลื้อยขนาดใหญ่ จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของป่าดงดิบชื้นไปทันที การเข้าถึงของแสงแดดน้อยเพราะส่วนมากเป็นต้นไม้ที่แย่งการขึ้นอย่างหนาแน่น จึงทำให้บริเวณนี้เห็นแสงสว่างน้อย การเจิรญเติมโตของต้นไม้ต้องลงทุนใช้พลังงานจากพืชบางชนิดมาช่วยการสนับสนุนการเจริญเติบโต และทำให้การปรับตัวของพืชมีผลไปตามพืชชนิดอื่นๆ ด้วย

        สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว ตั้งอยู่ในทางตอนใต้ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว และอยู่ทางตะวันตกของ น้ำตกโตนไทร เพื่อให้สำหรับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจเข้ามาทัศนศึกษาดูงาน สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า จัดตั้งขึ้นโดยเขาพระแทว เป็นเขตสำหรับห้ามล่าสัตว์ โดยทำหน้าที่ส่งเสริมเผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าตลอดจน สิ่งแวดล้อมต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีน้ำตกโตนไทร แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยม ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจมากมาย จะมีกลุ่มผู้คนประมาณ 20-50 คนเข้าชมทุกสัปดาห์ ส่วนใหญ่จะเป็นตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา บางครั้งจะมีกลุ่มนักศึกษาเข้าชมต้นไทร ผู้เข้าชมจะได้รับการบรรยายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้และลักษณะทั่วไปของป่าเขาพระแทว จะมีเส้นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติ ซึ่งสามารถขอคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่สถานีย่อยได้ มีห้องพักสำหรับผู้เข้าชม สามารถสำรองที่พักได้ตลอดปี
ปาล์มหลังขาว (ปาล์มเจ้าเมืองถลาง)

        เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) ดร.เอเอฟจี เดออร์ นายแพทย์ชาวไอร์แลนด์และนักพฤกษศาสตร์ ได้เดินทางมาสำรวจพรรณพฤกษชาติป่าเทือกเขาพระแทว ได้เก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง (herbarium specimen) ของปาล์มพันธุ์ใหม่ชนิดหนึ่งบริเวณฝั่งลำธาร แต่ยังไม่สามารถจำแนกชื่อและสกุลได้ จึงได้นำตัวอย่างแห้งของปาล์มนี้ไปเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์ KEW กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ


         ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งอุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทว เมื่อปี พ.ศ. 2520 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว) ศาสตราจารย์ ดร. เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ป่าไม้ และนายจรัล บุญแนบ หัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง จังหวัดตรัง ได้กล่าวถึงปาล์มที่มีลักษณะเด่นพันธุ์นี้แก่ ดร.จอนน์ แดรนฟิลล์ นักพฤกษศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญพันธุ์ไม้วงศ์ปาล์ม ก็พบว่าเป็นปาล์มสกุลใหม่ของโลก จึงได้ตีพิมพ์ในวารสารพฤกษศาสตร์ PRINCIPES เล่ม 27 ปี ค.ศ. 1983 ตั้งชื่อสกุล Kerriodoxa เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.เอเอฟจี เดออร์ นักพฤกษศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงผู้ริเริ่มงานศึกษาพรรณพฤกษชาติของไทย ระหว่างปี ค.ศ. 2445-2475 มีพันธุ์ไม้เพียงชนิดเดียว ได้แก่ Kerriodoxa elegans Dransfield เรียกชื่อสามัญว่า ปาล์มหลังขาว, ทังหลังขาว หรือ ปาล์มเจ้าเมืองถลาง


        ปาล์มหลังขาวจึงจัดได้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทยและของโลกที่ จัดอยู่ในสถานภาพที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์เนื่องจากแหล่งนิเวศหรือสภาพป่าดงดิบชื้นถูกคุกคาม ทำให้การแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ในขีดจำกัด

เอกสารอ้างอิง : - นายอวัช นิติกุล หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว
-กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
-หนังสืออุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทวโดย Jean Boulbet และ นพดล พฤกษะวัน



เรื่อง กองบรรณาธิการ
ภาพ นันทพัฒน์ สุรสิงห์โตทอง




Leave a Reply