About

หุ่นกระบอกน้ำ...วิถีความเชื่อ ศิลปะบนผิวน้ำ



        แสงยามเย็นเริ่มลูบไล้ริมฝั่งน้ำ สะพานสีแดงสดที่ทอดตัวสู่เกาะเล็กๆ กลางทะเลสาบ ซึ่งเป็นหนึ่งในตำนานแห่งอิสรภาพของชนชาวเวียดนาม ริมทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม หรือทะเลสาบคืนดาบ เรื่องเล่าของพระเจ้าเลไทโต กับเต่ายักษ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ ซึ่งคนที่จะมาเที่ยวเวียดนามเชื่อว่าคงเคยได้ยินตำนานนี้กันมาบ้างแล้ว แต่วันนี้เราจะมาดูศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นชื่อของชาวเวียดนามที่ทุกวันนี้หาดูได้ค่อนข้างยากนั่นคือ หุ่นกระบอกน้ำ เดินไปเดินมารอเวลาเข้าชมก็ชวนให้นึกถึงหุ่นกระบอกโจหลุยส์ หรือหุ่นละครเล็กที่บ้านเรา ความวิจิตรของตัวหุ่นลีลาการเชิดที่ถ่ายทอดให้เราได้เห็นได้สัมผัสเรื่องราว และอารมณ์ทั้งจากตัวหุ่นกระบอกเอง และจากผู้เชิด ต้องเรียกว่าศิลปะการแสดงที่เป็นหนึ่งไม่มีสองได้เหมือนกัน



       ก่อนเข้าชมผมก็มีคำถามว่า ทำไมต้องไปเล่นในน้ำไม่เปียกกันแย่เหรอ ก็ได้คำตอบจากพี่เปี๊ยกว่าประเทศเวียดนามบริเวณสันดอนสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขงที่กว้างใหญ่ หรือที่ราบลุ่มต่ำของแม่น้ำแดงในช่วงฤดูหน้าน้ำ ดินแดนแถบนี้จะถูกน้ำท่วมอยู่ทุกปี และการที่น้ำท่วมเป็นประจำ ชาวนาแต่ละคนก็คงเหงาไม่รู้จะไปเล่นอะไรคลายเหงาในช่วงรอน้ำลดดี ก็เลยกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดรูปแบบความบันเทิงแบบที่หาชมได้ในเวียดนามนี้เท่านั้น คือหุ่นกระบอกน้ำนั่นเอง

        เรื่องราวก็จะเป็นเกี่ยวกับวิถีชีวิต การทำนา การเพาะปลูก การแข่งเรือ และตำนานของพระเจ้าเทไทโตกับทะเลสาบฮว่านเกี๋ยมนั่นเอง จากที่เกริ่นไว้แล้วว่ามีตำนานเรื่องหนึ่งเล่าถึงเต่าใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบฮว่านเกี๋ยมที่ฮานอย เต่าตัวนี้จะโผล่ขึ้นมาเพื่อถวายดาบวิเศษแก่พระเจ้าเลไทโต ซึ่งพระองค์ต้องการนำไปใช้ขับไล่ผู้รุกรานชาวจีน เมื่อขับไล่เสร็จแล้วก็นำดาบมาคืนที่ทะเลสาบแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง การแสดงหุ่นกระบอกน้ำจึงสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องตำนาน และวิถีชีวิตที่เรียบง่าย กับความรักชาติที่ถูกปลูกฝังกันมาในจิตใจชาวเวียดนาม


        การเชิดหุ่นกระบอก คนที่ดูจะไม่เห็นคนเชิดเพราะนักเชิดจะยืนอยู่หลังฉากโดยให้น้ำท่วมถึงเอว แล้วควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นด้วยไม้ไผ่ลำยาว เล่ากันว่าหุ่นบางตัวหนักถึง 20 กก. ใช้คนเชิดประมาณ 4 คนแต่ที่ดูหุ่นทุกตัวเคลื่อนไหวได้น่ารักมากต้องชมคนเชิดว่าฝึกซ้อมกันมาอย่างดีจริง ๆ และในโรงละครก็จำลองออกมาได้ดี เพราะนักท่องเที่ยวอย่างพวกเราไม่ต้องลงไปดูในน้ำด้วย

        ตลอดการแสดงก็จะมีวงดนตรีแบบดั้งเดิมเล่นคลอไปด้วยได้บรรยากาศดีทีเดียว เสียแต่เค้าพากษ์เป็นภาษาเวียดนาม แม้ว่าจะฟังไม่รู้เรื่องแต่ก็น่าสนใจและสนุกมาก ดูแล้ววิถีชีวิตก็ไม่ได้ต่างกับบ้านเราเท่าไหร่นัก จะมีก็แต่เรื่องเล่าเท่านั้นที่ดูจะเป็นไปตามเบ้าหลอมทางวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ ก่อนกลับผมก็มีคำถามอีกว่าพวกนักเชิดหุ่นเค้าต้องแช่อยู่ในน้ำกันวันละหลาย ๆ รอบ รอบละนาน ๆ เค้าจะเป็นโรคน้ำกัดเท้ากันมั๊ย แต่ผมก็ได้แต่เก็บไว้ในใจไม่กล้าจะถามใครเดี๋ยวจะหาว่าทะลึ่ง


เรื่อง / ภาพ : นันทพัฒน์  สุรสิงห์โตทอง



Water Puppets

Vietnamese water puppetry has a long history. An inscription on a stone stele in Doi Pagoda, Duy Tien District, Nam Ha Province, relates a water puppet show staged in the year 1121 to mark a birthday of King Ly Nhan Tong in 4036 words.

Puppets are made of wood and coated with waterproof paint. Each puppet is handmade, has its own posture and expresses a certain character. The most outstanding puppet is known as chu teu which has a round face and a humorous and optimistic smile. The show starts with chu teu, dressed in an odd costume, offering joyful laughter.

The pond and lakes of the northern plains, where crowds gathered during festival and galas, become the lively stages for the water puppet shows. At a water puppet show, the audience watches boat races, buffalo fights, fox hunts and other rustic scenes amidst the beating of drums and gongs. The characters plough, plant rice seedlings, fish in a pond with a rod and line, scoop water with a bamboo basket hung from a tripod, etc. The show is interspersed with such items as a Dance by the Four Mythical Animals: Dragon, Unicorn, Tortoise, and Phoenix and Dance by the Eight Fairies, in which supernatural beings enjoy festivities alongside people of this world. 

In water puppet shows there is a very effective combination of visual effects provided by fire, water, and the movements of the marionettes. The whole control system of the show is under the surface of the water, concealed from the audience. When fairy figures appear to sing and dance, it is calm and serene; then the water is agitated by stormy waves in scenes of battle, with the participation of fire-spitting dragons. 

There are many contributing factors to the art of water puppetry, including such handicrafts as wood sculpture and lacquer work. The factors all work together to bring out charming glimpses of the Vietnamese psyche, as well as typical landscapes of Vietnam.

http://www.vietnamtourism.com


Leave a Reply