About

"อ๋าวไหย่" Vietnamese traditional costumes


"อ๋าวไหย่" Vietnamese traditional costumes

นักศึกษาสาวชาวเวียดนามในชุดอ๋าวไหย่

        ในใจลึก ๆ ประสาหนุ่มโสดที่มีโอกาสได้เดินทางท่องเที่ยวไปต่างแดนโดยเฉพาะประเทศเวียดนามที่ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องชุดแต่งกายประจำชาติซึ่งมีเสน่ห์ สวยงาม เย้ายวน ทว่ามิดชิด จากคำเล่าขานหรือจะเท่าไปเห็นด้วยตาตัวเอง เพราะฉะนั้นเมื่อมีโอกาสได้ไปเยือนเวียดนามถึงถิ่นพอเครื่องบินลงจอดที่สนามบินนอยไบสายตาผมก็สอดส่องเผื่อจะพบสาวในชุดอ๋าวไหย่ให้สมตั้งใจ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่พบซักที จนเดินทางเข้าเมืองฮานอยก็ต้องผิดหวังอีกคำรบใหญ่เพราะเพิ่งรู้ว่าเวียดนามเหนือเค้าจะไม่ใส่ชุดอ๋าวไหย่กัน ถ้าอยากเห็นต้องไปเวียดนามใต้โดยเฉพาะที่เมืองเว้ ด้วยความคาดหวังอันสูงส่งทำให้หนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ที่ไปในทริปนั้นต่างผิดหวังกันอย่างแรง เอาเป็นว่าเรามาดูวิวัฒนาการของชุดอ๋าวไหย่กันก่อนดีกว่า

        อ๋าวไหย่ ถ้าแปลตามความหมายก็คือชุดยาว แต่กว่าจะมาเป็นชุดยาวนี่ได้ก็ต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการคัดสรรทางการเวลากันมาพอควร เพราะแต่เดิมประมาณปี 1744 พระเจ้ามินหม่างแห่งราชวงศ์เหวียน ที่มีอำนาจอยู่ในเวียดนามกลางและใต้ ได้กำหนดให้แต่งกายแบบจีนคือให้ใส่กางเกงขายาวแทนกระโปรง เสื้อแหวกแบบผูกด้านหน้า โดยกำหนดจากชนชั้นทางสังคม และอาชีพของผู้สวมใส่ แต่ชุดสมัยโบราณผู้หญิงจะแต่งเป็นกระโปรงยาวไม่ใส่กางเกงซึ่งเดี๋ยวนี้เราก็ยังสามารถพบเห็นได้ตามหมู่บ้านทางเวียดนามตอนเหนือ ที่ผมไปแถวซาปาก็ยังมีชาวบ้านที่มีอายุก็ยังนิยมแต่งกายแบบเดิมอยู่พอสมควร

        ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 1930 ก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเนื้อผ้าโดยให้ทันสมัยขึ้นจนมาเป็นชุดอ๋าวไหย่ทุกวันนี้ แต่ภายหลังการรวมชาติ และสงครามเวียดนามได้จบลงประเทศเวียดนามต้องประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจไปทั่ว ชุดอ๋าวไหย่จึงกลายเป็นของสิ้นเปลืองต้องห่างหายไปชั่วคราว ต่อมาปลายปี 1980 เมื่อสภาพสังคม และเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ชุดประจำชาติชุดนี้ก็ได้กลับมารับความนิยมอีกครั้ง โดยเฉพาะในเขตตอนใต้ของประเทศ

ชุดแต่งงานของชาวเวียดนาม

        ชุดอ๋าวไหย่มักจะใช้ผ้าเนื้อบางเบาเมื่อสวมใส่แล้วจะแนบไปกับสรีระของผู้ใส่ ซึ่งตลอดเวลาที่ผมเดินทางอยู่ในเวียดนามเรียกว่าแทบจะไม่เห็นคนอ้วนเลย หญิงสาวชาวเวียดนามเค้าดูแลตัวเองดีมาก ๆ ทั้งเรื่องอาหารการกินที่เน้นจำพวกผักเป็นหลัก ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สาวรุ่นที่นี่มีแต่รูปร่างดี ๆ สูงโปร่ง จนมีเรื่องเล่าว่า ในตอนใต้ของเวียดนามที่นักเรียนหญิงจะใส่ชุดอ๋าวไหย่หากวันใดฝนตกเราจะเห็นความสวยงามของสรีระร่างกาย ทั้งส่วนเว้าส่วนโค้งอย่างชัดเจน จนบางครั้งพวกนักท่องเที่ยวจะมารอดูอยู่ที่หน้าโรงเรียนเลยก็มี แบบนี้ถ้าเป็นบ้านเราคงโดนตำรวจจับข้อหาโรคจิตแน่ ๆ เรื่องนี้จะจริงเท็จประการใดหากมีโอกาสไปเวียดนามใต้ผมก็จะขออาสาไปพิสูจน์ให้ก่อนละกันนะครับ
        แต่มาเวียดนามครั้งนี้ก็ไม่ได้โหดร้ายเกินไปนัก เพราะวันสุดท้ายขณะที่ผมกำลังเดินเล่นอยู่ที่วิหารวรรณกรรมกลางเมืองฮานอย พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นสาวน้อยในชุดอ๋าวไหย่กำลังถ่ายภาพเป็นที่สนุกสนาน จึงเดินเข้าไปถามได้ความว่าเป็นนักศึกษากำลังจะเรียนจบปีนี้เลยไปเช่าชุดกับเพื่อน ๆ มาถ่ายภาพกัน ผมก็เลยถือโอกาสขออนุญาตถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ช่างเป็นการปิดทริปเวียดนามได้ดั่งใจหวังจริง ๆ ครับ


เรื่อง / ภาพ : นันทพัฒน์  สุรสิงห์โตทอง



Vietnamese traditional costumes

        Young women wear light brown-colored short shirts with long black skirts. Their headgear consists of a black turban with a peak at the front. To make their waist look smaller, they tightly fasten a long piece of pink or violet cloth. On formal occasions, they wear a special three layered dress called an "ao dai", a long gown with slits on either side.

Over time, the traditional "ao dai" has gone through certain changes. Long gowns are now carefully tailored to fit the body of a Vietnamese woman. The two long slits along the side allow the gown to have two free floating panels in the front and at the back of the dress. The floating panels expose a long pair of white silk trousers.

In general, Vietnamese clothing is very diverse. Every ethnic group in Vietnam has its own style of clothing. Festivals are the occasion for all to wear their favorite clothes. Over thousands of years, the traditional clothing of all ethnic groups in Vietnam has changed, but each ethnic group has separately maintained their own characteristics.

http://www.vietnamtourism.com



Leave a Reply